บทสัมภาษณ์ อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ถึงมุมมองต่อคนรุ่นใหม่

ประวัติ
เป็นชาวหมู่บ้านร่องขุ่น
จังหวัดเชียงราย
เกิดวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 เป็นบุตรคนที่ 3 ของนายฮั่วชิว แซ่โค้ว
(ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นนายไพศาล)
และนางพรศรี อยู่สุข
ทำคลอดด้วยหมอตำแย ชื่อยายตุ่น
ชีวิตตอนเด็กๆ
เป็นคนเกเร ไม่ตั้งใจเรียน แต่มีความชอบวาดรูป
จึงพยายามเข้าเรียนที่เพาะช่าง
และมหาวิทยาลัยศิลปากร เคยได้รับเหรียญทองจากการประกวดผลงานระดับชาติ
การศึกษา:
มหาวิทยาลัยศิลปากร (พ.ศ. 2520)
รางวัล:
รางวัลศิลปาธร สาขาทัศนศิลป์
ผลงาน:
วัดร่องขุ่น
ความคิดริเริ่มที่สร้างวัดร่องขุ่น
เริ่มแรกสร้างวัด ผม
(อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์) คิดเพียงกะสร้างโบสถ์ 1 หลังสวยๆ ใช้เวลาสัก 10 ปีก็มากพอ สร้างไปได้ 2 ปี คนชอบกันมาก เริ่มมองสิ่งก่อสร้างภายในวัด ขี้เหร่ไม่สวย
ดูไม่เข้ากับโบสถ์ อุตริสั่งรื้อทิ้งหมด เริ่มตั้งแต่ซุ้มประตูวัด ประปาหมู่บ้านหน้าวัด
ศาลาอ่านหนังสือ ศาลาการเปรียญ หอฉัน
กุฏิพระหลังเก่าของแม่สร้างอุทิศให้อาก๋งที่ผมเคยวาดรูปติดหน้าบันไว้เมื่อเป็นเด็กศิลปากรปี
4 สุดท้ายปีนี้ 2548
ทุบกุฏิใหญ่ของพระสงฆ์องค์เจ้าทั้งหมดทิ้งเป็นหลังสุดท้าย
จึงไม่เหลืออะไรเลยที่เป็นของเก่าสมัยท่านเจ้าอาวาส พระครูไสวสร้างไว้ (มรณภาพปี 2546)ผมต้องทุบทิ้งเพราะเป็นของเก่าที่ไม่มีค่าทางสุนทรีภาพ
เป็นช่างรับเหมาห่วยๆ ราคาถูกๆ สร้างประมาณ 10 – 20
ปีนี่เองพอทุบของเขาทิ้งก็เลยคิดสร้างเพิ่ม แต่ที่ดินวัดไม่พอเลยซื้อเพิ่มครับ
อีกไร่กว่าก็ยังไม่พออีก หากสร้างไปก็จะเบียดเบียนกันดูไม่สวย
จึงติดต่อขอซื้อที่จากเศรษฐีกรุงเทพฯ เพิ่ม
แต่เป็นบุญของพระศาสนาครับท่านใจบุญยกให้ฟรีๆไร่กว่าๆ
ที่วัดตกสี่เหลี่ยมพอดีเวลาผ่านไป 5 ปี
คนมาชื่นชมกันเยอะมากจนหาที่จอดรถลำบาก และดันแพ้เสียงเชียโดยเฉพาะพวกฝรั่งมันยกย่องออกอาการมาก
เลยบ้าตามมัน เปลี่ยนความคิดเป็นสร้างให้สวยระดับโลกให้ได้เอาล่ะวะไหนๆ ก็ไหนๆ
แล้ว ลุยเต็มสูบกันเลย ผมขอที่เพิ่มจากคุณวันชัย วิชญชาคร
เศรษฐีใจบุญเป็นครั้งที่สอง ท่านก็เห็นแก่พระศาสนา ประเทศชาติ
บอกผมว่าเอาเลยอาจารย์ จะเอาเท่าไหร่ก็ถมเอาเถอะ ผมมีร้อยกว่าไร่หลังวัผมคนขี้เกรงใจครับ
ขอแค่พอสร้างให้ครบ 9 หลัง ได้เพิ่มอีกประมาณ 3 ไร่กว่า รวมวัดมีเนื้อที่จาก 3 ไร่กว่าเป็น 9 ไร่กว่าๆพอแล้วครับ ภูมิทัศน์ลงตัวสวนพอดีครับ ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป
ผมแบ่งที่ดินเป็น 3 เขตหนึ่ง เขตพุทธวาส ผมชอบเรียกว่าพุทธภูมิ
เป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า จะอยู่ด้านขวา มีเสานางเรียกตั้งโปร่งๆ
เป็นเขตแดนประกอบด้วยโบสถ์ หอพระธาตุ สะพานสุขาวดีข้ามน้ำไปสู่ยังหอพระอีกหลังสอง
เขตสังฆาวาส อยู่ด้านซ้ายด้านเดียวกับเขตฆราวาส จะประกอบด้วยกุฏิพระและหอวิปัสสนา
จุคนประมาณ 200 คน สำหรับบรรยายธรรมขั้นสูงและฝึกวิปัสสนากรรมฐานสาม
เขตฆราวาส อยู่ด้านซ้ายมือหลังแรก เป็นหอศิลป์
ข้างล่างห้องโถใหญ่ใช้เป็นที่จำหน่ายผลงานสิ่งพิมพ์ ของที่ระลึกต่างๆ
ห้องวีดิทัศน์เพื่อบรรยาย จุคนประมาณ 50 คน
อาจารย์เฉลิมชัย
โฆษิตพิพัฒน์ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างวัดมาจาก 3 สิ่งต่อไปนี้คือ
ชาติ :
ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์
จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
ศาสนา :
ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น
จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
พระมหากษัตริย์ :
จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง ทำให้อาจารย์เฉลิมชัย
รักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน
จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
จึงปรารถนาที่จะสร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
วัดร่องขุ่น สร้างพุทธศิลป์เพื่อแผ่นดิน ถวายเป็นพุทธบูชา
วัดร่องขุ่น เป็นวัดที่สร้างขึ้นจากแรงศรัทธาของ อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ศิลปินของจังหวัดเชียงราย
เพื่อมุ่งสร้างงานพุทธศิลป์ที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองและประกาศความยิ่งใหญ่ต่อคนทั้งโลกเพื่อถวายต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
จนเป็นที่รู้จักของชาวต่างชาติในนาม "White Temple" ระยะเวลาในการสร้างนั้นไม่มีกำหนดจนกว่าจะแล้วเสร็จ
ซึ่งได้วางแผนทุกอย่างไว้หมดแล้วทั้งลูกศิษย์ที่สานต่อและทุนทรัพย์
ประชาชนคนไทยต้องหาโอกาสสักครั้งเพื่อมาชมวัดร่องขุ่น
งานพุทธศิลป์ที่ยิ่งใหญ่แห่งนี้ให้ได้
วัดร่องขุ่น
เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2540
โดยท่านอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ จิตรกรชั้นแนวหน้าของไทย
ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างมาจาก3 สิ่งต่อไปนี้คือ
1. ชาติ :
ด้วยความรักบ้านเมือง รักงานศิลป์ จึงหวังสร้างงานศิลปะที่ยิ่งใหญ่ไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
2. ศาสนา :
ธรรมะได้เปลี่ยนชีวิตของอาจารย์เฉลิมชัยจากจิตที่ร้อนกลายเป็นเย็น
จึงขออุทิศตนให้แก่พระพุทธศาสนา
3. พระมหากษัตริย์ :
จากการเข้าเฝ้าฯ ถวายงานพระองค์ท่านหลายครั้ง
ทำให้อาจารย์เฉลิมชัยรักพระองค์ท่านมาก จากการพบเห็นพระอัจฉริยะภาพทางศิลปะและพระเมตตาของพระองค์ท่าน
จนบังเกิดความตื้นตันและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
ดังนั้นอาจารย์จึงได้สร้างงานพุทธศิลป์ถวายเป็นงานศิลปะประจำรัชกาลพระองค์ท่าน
โดยปรารถนาจะสร้างวัดให้เหมือนเมืองสวรรค์ที่มนุษย์สัมผัสได้ บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และอาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ได้บริจาคทรัพย์สินส่วนตัว
และคุณวันชัย วิชญชาคร เป็นผู้บริจาคที่ดินประมาณ 7 ไร่เศษ
รวมเงินบริจาคของผู้มีจิตศรัทธาอื่นๆ
จนถึงปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 12 ไร่
และมีพระกิตติพงษ์ กัลยาโณ รักษาการเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน
ลักษณะเด่นของวัดคือพระอุโบสถที่ตกแต่งด้วยสีขาวเป็นพื้น
ประดับด้วยกระจกแวววาววิจิตรงดงามแปลกตา บนปูนปั้นเป็นลายไทย
โดยเฉพาะภาพพระพุทธองค์หลังพระประธานซึ่งเป็นภาพที่ใหญ่งดงามมาก
เหนืออุโบสถที่ประดับด้วยสัตว์ในเทพนิยาย เป็นรูปกึ่งช้างกึ่งวิหคเชิดงวงชูงา
ดูงดงามแปลกตาน่าสนใจมาก
ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถก็เป็นฝีมือภาพเขียนของอาจารย์เอง
ความหมายของอุโบสถ
ขาวของโบสถ์แทนพระบริสุทธิคุณของพระพุทธเจ้า
กระจกขาวหมายถึง
พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้าที่เปล่งประกายไปทั่วโลกมนุษย์และจักรวาล
สะพาน หมายถึง
การเดินข้ามวัฏสงสารมุ่งสู่พุทธภูมิ ก่อนขึ้นสะพานครึ่งวงกลมเล็กหมายถึง โลกมนุษย์
วงใหญ่ที่มีเขี้ยวเป็นปากของพญามาร หรือพระราหู หมายถึง
กิเลสในใจแทนขุมนรกคือทุกข์
ผู้ใดจะเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในพระพุทธภูมิต้องตั้งจิตปลดปล่อยกิเลสตัณหาของตนเองทิ้งลงไปในปากพญามาร
เพื่อเป็นการชำระจิตเราให้ผ่องใสถึงจะเดินผ่านขึ้นไป
บนสันของสะพานจะประกอบไปด้วยอสูรอมกัน 16 ตัว ข้างละ
8 ตัว อุปกิเลส 16
จากนั้นก็จะถึงกึ่งกลางสะพาน หมายถึง เขาพระสุเมระ เป็นที่อยู่ของเทวดา
ด้านล่างเป็นสระน้ำ หมายถึง
สันดรมหาสมุทร มีสวรรค์ตั้งอยู่ 6 ชั้นด้วยกัน ผ่านสวรรค์ 6 เดินลงไปสู่แผ่นดินของพรหม 16 ชั้น
แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 16 ดอก รอบอุโบสถ ดอกที่ใหญ่สุด 4 ดอก ตรงทางขึ้นด้านข้างโบสถ์ หมายถึง ซุ้มพระอริยเจ้า 4 พระองค์ ประกอบด้วยพระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์
เป็นสงฆ์สาวกที่เราควรกราบไหว้บูชา
ก่อนขึ้นบันได
ครึ่งวงกลม หมายถึง
โลกุตตรปัญญา บันไดทางขึ้น 3 ขั้น แทนอนิจจัง ทุกขัง
อนัตตา ผ่านแล้วจึงขึ้นไปสู่แผ่นดินของอรูปพรหม 4
แทนด้วยดอกบัวทิพย์ 4 ดอก และ บานประตู 4 บาน บานสุดท้ายเป็นกระจกสามเหลี่ยมแทนความว่าง (ความหลุดพ้น)
แล้วจึงจะก้าวข้ามธรณีประตูเข้าสู่พุทธภูมิภายในประกอบด้วยภาพเขียนโทนสีทองทั้งหมด
ผนัง 4 ด้าน เพดาน
และพื้นล้วนเป็นภาพเขียนที่แสดงถึงการหลุดพ้นจากกิเลสมาร
มุ่งเข้าสู่โลกุตรธรรมส่วนบนของหลังคาโบสถ์ ได้นำหลักธรรมอันสำคัญยิ่งของการปฏิบัติจิต
3 ข้อ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นำไปสู่ความว่าง (ความหลุดพ้น)
ช่อฟ้าเอก หมายถึง
ศีล ประกอบด้วยสัตว์ 4 ชนิดผสมกัน แทน ดิน น้ำ ลม ไฟ
ช้าง หมายถึง ดิน, นาค หมายถึง น้ำ, ปีกหงส์
หมายถึง ลม และหน้าอก หมายถึง ไฟ ขึ้นไปปกปักรักษาพระศาสนา บนหลัง
ช่อฟ้าเอกแทนด้วยพระธาตุ หมายถึง ศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 ข้อ และ 84,4000 พระธรรมขันธ์
ช่อฟ้าชั้นที่ 2 (บน) หมายถึง สมาธิ แทนด้วยสัตว์ 2 ชิด คือ
พญานาคกับหงส์ เขี้ยวพญานาค หมายถึง ความชั่วในตัวมนุษย์ หงส์ หมายถึง ความดีงาม
ศีลเป็นตัวฆ่าความชั่ว (กิเลส) เมื่อใจเราชนะกิเลสได้ก็เกิดสมาธิ
มีสติกำหนดรู้เกิดปัญญา
ชั้นที่ 3 (สูงสุด) หมายถึง ปัญญา แทนด้วยหงส์ปากครุฑ หมอบราบนิ่งสงบไม่ปรารถนาใดๆ
มุ่งสู่การดับสิ้นซึ่งอาสวะกิเลสภายใน
ด้านหลังหางช่อฟ้าชั้นที่ 3 มีลวดลาย 7 ชิ้น หมายถึงโพชฌงค์ 7 ลาย 8
ชิ้นรองรับฉัตร หมายถึง มรรค 8
ฉัตรหมายถึงพระนิพพานลวดลายบนเชิงชายด้านข้างของหลังคาชั้นบนสุดแทนด้วยสังโยชน์ 10 เสา 4 มุม ด้านข้างโบสถ์ คือ ตุง (ธง) กระด้าง
เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระพุทธเจ้าตามคติล้านนา
คำพูดคติให้เเง่คิด
อยากประสบความสำเร็จ
ต้องทำมากกว่าคนอื่น!
ถ้าเราทำอะไรแบบคนธรรมดาเขาทำ
เราก็จะเป็นคนธรรมดาแบบเขา แต่ถ้าเราทำมากกว่าคนอื่น
แน่นอนผลลัพธ์ที่ออกมาเราก็จะได้มากกว่าคนอื่น เหมือนกับ อ.เฉลิมชัย
ที่ทนอดอยากวาดรูปฟรีมา 4 ปี
จนทุกวันนี้ประสบความสำเร็จ สร้างวัด ล่องขุ่น ด้วยเงินของท่านเอง
หลายร้อยล้านบาท.
"อยากยิ่งใหญ่ มึงต้องเหนื่อยกว่าคนอื่น
มึงต้องเรียนรู้มากกว่าคนอื่น มึงต้องทำงานมากกว่าคนอื่น
มึงมีความฝันและมึงทำความฝันของมึงด้วยใจของมึง" อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์.
คิดใหญ่
อ.เฉลิมชัย
เป็นคนที่มีความฝันใหญ่ตั้งแต่เด็ก
ว่าจะเป็นนักเขียนที่ยิ่งใหญ่และมีชื่อเสียงให้ได้. ตั้งแต่เด็กอาจารย์ก็คิดใหญ่
อยากจะวาดรูปโพสเตอร์หน้าโรงหนังกลางใจเมือง
ท่านเลยไปคลุกคลีฝึกฝนตัวเองอยู่กับคนกลุ่มนั้น โดยการไปช่วยเขาล้างพู่กันล้างผ้าใบ
แล้วก็หัดวาดรูป จนอายุแค่ 14
ก็ได้วาดรูปโพสเตอร์หน้าโรงหนังสมใจ.
ในเวลาต่อมาอาจารย์ก็มีเป้าหมายใหม่ที่ยิ่งใหญ่มากๆและที่สุดของท่าน
นั่นคือการสร้างวัดล่องขุ่น ตอนนั้นท่านได้เดินไปที่วัดนั้นแล้วป่าวประกาศว่า
"จะสร้างวัดนี้ ให้ยิ่งใหญ่ระดับโลกในอีก 10ปี
ข้างหน้า" ชาวบ้านทุกคนคิดว่าอาจารย์บ้า.
แต่วันเวลาผ่านไปได้พิสูจย์ให้ทุกคนเห็นว่าคนคนนี้ เจ๋งจริง...
"ผมเป็นคนคิดไกลมาก คิดว่าจะต้องเป็นคนมีชื่อเสียงมาก
ในระดับโลกคนจะต้องรู้จัก" อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์.
“มึงบ่าดีฝัน...มันเป๋นไปบ่าได้
เพ้อเจ้อ...มันบ่าหมี๋ทางตี้ละอ่อน มันจะปิ๊กมานับถือความเป็นล้านนา!”
(เอ็งอย่าไปฝัน...มันเป็นไปไม่ได้-เพ้อเจ้อ...มันไม่มีทางที่เด็กๆ
มันจะกลับมานับถือความเป็นล้านนา”
เกิดอะไรขึ้น!
...ขณะที่ผู้เขียนนั่งคุยกับอาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
อาจารย์กลับลุกขึ้นมาตะโกนในบางสิ่ง
แต่ยังไม่ทันจะได้พูดอะไรต่อ...อาจารย์ท่านก็สวนอีกหนึ่งหมัดเด็ดเข้าเต็มเป้า
“คิงเป๋นคนเมือง
หยังบ่าอู้กำเมือง...ฮาเป็นคนเมืองฮากู้กำเมือง...
ฮายโสทระนงในความเป็นล้านนาของฮา ถ้าคิงจะอู้กับฮา คิงก่อต้องอู้กำเมือง”
(เอ็งเป็นคนเหนือ...ทำไมไม่พูดคำเมือง...ข้าเป็นคนเมือง
ข้าพูดคำเมือง...ข้ายะโสทระนงในความเป็นล้านนา ถ้าเอ็งจะคุยกับข้า
เอ็งก็ต้องพูดคำเมือง)
อาจารย์ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์
ศิลปินนามอุโฆตแห่งล้านนาผู้สะสมชื่อเสียงมายาวนาน ผู้สร้างงานพุทธศิลป์เพื่อแผ่นดิน
หมู่มวลชาวไทยรู้จักผ่านปรากฏการณ์บนหน้าสื่อต่างๆ ถึง
“เฉลิมชัยสไตล์”
ด้วยเอกลักษณ์การพูดและตัวตนหนึ่งเดียวในโลก
แต่มีสิ่งหนึ่งนั้นที่อาจารย์ภูมิใจ
ยโสและแสดงออกไม่เคยเปลี่ยน คือ “จิตวิญญาณแห่งล้านนา” ที่อาจารย์ขอลุกขึ้นทวงคืนจากคนรุ่นใหม่
ไม่ใช่ฐานะศิลปิน ไม่ใช่ฐานะผู้ยิ่งใหญ่ แต่ในความเป็นฅน “ชนล้านนา”
ซึ่งไม่ต้องการเห็นคนล้านนาด้วยกัน ทำลายล้านนาทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว
เสื้อหมอฮ่อมที่อาจารย์ใส่
ไม่ใช่แค่เครื่องแต่งกาย แต่มันคือการสวมเอกลักษณ์แห่งล้านนา วาจาคำเมืองของอาจารย์
คือการสื่อสารที่ออกมาจากเหง้าของวัฒนธรรมฝังรากมานานหลายร้อยปี
หลายครั้งที่พานพบเยาวชนหรือคนรุ่นใหม่ เข้ามาคารวะ จิตอาจารย์จะสั่งพิเคราะห์ถาม
คนรุ่นใหม่อย่าลืมกำพืดและความเป็นตัวตน
ท่ามกลางโลกที่เปลี่ยนแปรไม่หยุดยั้ง อารยธรรม และวัฒนธรรมโบราณของชนชาติต่างๆ
ต้องสูญสิ้นลง ด้วยการถูกกลืนจากต่างอารยะธรรมที่ยิ่งใหญ่กว่า สู่การกลายพันธุ์
หรือสูญพันธุ์ล่มสลาย ซึ่งวัฏจักรของการทำลายล้างของผู้มีอำนาจเหนือกว่า
ไม่มีใครจะยับยั้งได้
....หลังจากที่ลุกขึ้นยืนเปี่ยมพลังเมื่อครู่
อาจารย์ได้นั่งลงและบอกเราบนผืนเสื่อ...
''เป็นคนเมืองก็ต้องพูดกำเมือง
สำหรับคนต่างถิ่น เมื่อคุณมาอยู่เมืองเหนือคุณต้องเข้าใจกำเมือง
ซึมซับวัฒนธรรมของผม เพราะคุณมาในแผ่นดินของผม ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้ใหญ่หรือผู้น้อย
ต้องเขาใจภาเหนือของเราและเราต้องยื่นวัฒนธรรมของเราให้เขา
แทนที่จะรับอย่างเดียว
ความเป็นล้านนา
คือความยิ่งใหญ่ของชนชาติ
ถ้าคนรู้ประวัติศาสตร์รู้ภาษาล้านนาก็รักล้านนาเพราะมันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งเปี่ยมไปด้วยความยิ่งใหญ่และความงดงาม..ผู้คนต่างเข้าใจว่าเราคือคนไทย
ปัจจุบัน อารยธรรมจากต่างชาติ
การใช้ชีวิตในรูปแบบทุนนิยมคือสิ่งที่ทำให้จิตวิญญาณล้านนาค่อยล่มสลายมาตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นพ่อรุ่นแม่สู่คนรุ่นใหม่
ซึ่งน้อยคนนักจะ “อู้กำเมือง” และใช้ชีวิตในวิถีแห่งล้านนา ตั้งแต่รากของปัจจัย 4 ในการดำรงชีวิต
การใส่ เราสวมเสื้อยืดสกรีนคำด่าพ่อล่อแม่ของฝรั่งมังค่า
แต่เรากลับภูมิใจที่เอาคำไม่ดีเหล่านี้มาไว้บนตัวเรา ใส่เสื้อตัวเล็กคับติ้ว
สายเดี่ยวเห็นเสื้อใน ทิ้งม่อฮ่อมชุบผงครามและผ้าซิ่นลงในตระกร้า
การกิน เราตกเป็นทาสพิซซ่า
อาหารฟาสฟู๊ดจากต่างชาติ แทนที่จะเป็นน้ำพริกอ่องน้ำพริกหนุ่ม
เราเข้าเมกะสโตร์ค้าปลีกจากต่างประเทศแทนที่จะเป็นกาดมั่วกาดแลง
การอยู่
เรามีเพื่อนคู่ใจคือมอเตอร์ไซด์คันเทห์
หรือรถยนต์คันซิ่งทิ้งส่ามล้อหรือจักรยานไว้ในกองเศษเหล็ก
เรามีเพื่อนบ้านข้างเคียงคือห้างสรรพสินค้าและไม่สนทนากับเพื่อนเก่าอย่างวัดวาอาราม
และพิพิธภัณฑ์
การรักษา เราเข้าฟิสเนส ออกกำลังกาย
ซื้อยาบำรุง อาหารเสริม กระดกยานอนหลับ กินยาคลายเครียด ทั้งๆ
ที่คนรุ่นปู่ย่าตายาย ท่านยังอยู่มาได้ไม่ต้องพึ่งพาสิ่งเหล่านี้
เรากำลังจะเดินไปทางไหน
สิ่งใดอยู่ปลายทาง แม้แต่อาจารย์เฉลิมชัย ยังต้องถอนหายใจ
เรื่องเหล่านี้มัน โคตรยากที่จะแก้
เพราะเราถูกทำลายมาหลายยุคหลายสมัย จะมาเรียกร้องกลับคืนไม่ได้
แม้แต่วัดวาอารามจะหาวัดที่เป็นล้านนาจริงๆ สมัยนี้มันหายาก"
บทสรุปที่เลือก
การที่เลือกศึกษาเกี่ยวกับอาจารย์เฉลิมชัย.
เเละนำมาไห้ทุกคนได้อ่านเป็นเพราะอาจารย์เฉลิมชัยเป็นบุคคลที่รักในถิ่นฐานบ้านเกิดของตนเองมีการมาพัฒนาไห้เจริญเเละเป็นที่รู้จักออกไปในสังคนผู้คนอีกมากมายทั้งคนไทยเเละต่างประเทศเเล้วยังมีการเเต่งตัวที่เป็นเอกลักษณ์โดยการใส่เสื้อหมอฮ่อมที่เเสดงให้เห็นถึงความเป็นล้านนา
ยังเป็นคนยึดมุ่นในอุดมคติ มีความตั้งใจที่ตั้งเเล้วก็จะทำไห้ได้เเละเป็นบุคคลที่มีฝีมือ
เป็นจิตรกรไทยมีผลงานจิตรกรรมไทยหลายผลงาน ทั้ง
ภาพจิตรกรรมไทยในอุโบสถวัดพุทธประทีป เ ขียนภาพประกอบบทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก
และผลงานศิลปะที่ วัดร่องขุ่น ซึ่งมีงานสถาปัตถยกรรม ประติมากรรมปูนปั้น เเละได้รับไห้เป็นศิลปินเเห่งชาติ ทำไห้ทั้งคนไทยเเละชาวต่างชาติอยากที่จะไปชมความงามของวัดร่องขุ่น
เเละที่สำคัญคือ
อาจารย์เฉลิมชัยเป็นบุคคลที่พูดตรงมากเเต่คำพูดที่ตรงก็มีเหตุผลประกอบเสมอ
คำพูดที่ว่าเเรงก็บังเเฟงไปด้วยข้อคิดอีกมากมาย
ที่สามารถนำไปไช้ในชีวิตประจำวันได้
อ้างอิง
watrongkhun.(2554).วัดร่องขุ่น จังหวัดเชียงราย ผลงานของท่าน อาจารย์เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์.(ออนไลน์).สืบค้นจาก:http://www.วัดร่องขุ่น.com.ค้นเมื่อ:3 กันยายน 2561
สรุปบทความโดย
นางสาวปิยฉัตร คงโตรม รหัสนิสิต611071511คณะเศรษฐศาสตร์เเละบริหารธุรกิจ
วิชาเอกเศรษฐศาสตร์
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น